จักรวรรดิยันละเมอ
| |||||
คำขวัญ: กอด มิท อุนน บร๊ะเจ้าทรงอยู่กับเรา | |||||
เพลงชาติ: ไฮล์เบียร์อิมซีกโก้โก้ครันท์ | |||||
![]() | |||||
เมืองหลวง | กรุงบัวร์ดิน | ||||
เมืองใหญ่สุด | นครหัมบูด | ||||
ภาษาราชการ | ภาษายันละเมอ | ||||
วัน-เวลา สถาปนาประเทศ | หลังสงครามเศษฝรั่ง - ปูเสีย | ||||
วัน-เวลา ล่มสลาย | 28 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918 | ||||
เอกราช | หลังสงครามเศษฝรั่ง - ปูเสีย | ||||
รัฐบาล | ราชะธิปัตไตย | ||||
ศาสนา | ศานาบริสต์ | ||||
ประเภท สินค้าสำคัญ | ปืน กระสุน ระเบิด อาวุธ ฯลฯ | ||||
ชื่อสินค้า สำคัญ | ฯลฯ อาวุธ ระเบิด กระสุน ปืน | ||||
สินค้า ส่งออกหลัก | ไส้กรอก เบียร์ กะหลํ่าเปรี้ยว | ||||
สินค้า นำเข้าหลัก | ไม่มี ผลิตได้ทุกอย้าง | ||||
เข้าร่วม กลุ่มอียู | EU ยังไม่ก่อตั้ง | ||||
เข้าร่วม กลุ่ม CSU | CSU ยังไม่ก่อตั้ง | ||||
เนื้อที่ - ทั้งหมด - พื้นน้ำ (%) |
540,857.54 กม.² (อันดับที่ 3) 208,826 ไมล์² ร้อยละ 75 | ||||
ประชากร •(ค.ศ. 1910) ประมาณ • ความหนาแน่น ประชากร |
64,925,993 (อันดับที่ 3) 120/กม² (อันดับที่ 3) 310.9/ไมล์² | ||||
GDP (PPP) • รวม • ต่อประชากร |
(ปี 19XX - ค่าประมาณ) §12,000 พันล้าน (อันดับที่ -) §70,000 (อันดับที่ -) | ||||
HDI (19XX) | 1.07 (อันดับที่ ไม่ทราบ) – สูง | ||||
สถุลตังค์ | มาร์กยันละเมอ (DM )
| ||||
เขตเวลา | (UTC+1) | ||||
รหัส อินเทอร์เน็ต | .ng | ||||
รหัสโทรศัพท์ ระหว่างประเทศ | +777
|
จักรวรรดิยันละเมอ (ยันละเมอ:Yanlameir Reich; ปะกิด:Yanlameir Empire) เป็นชื่อเรียกของในอดีตของประเทศยันละเมอ ตั้งแต่การขึ้นครองราชย์ของบร๊ะเจ้าวิลแฮมที่ 1 ที่ประเทศเศษฝรั่ง ในปี ค.ศ. 1871 ถึงปี ค.ศ. 1918 เมื่อบร๊ะเจ้าวิลแฮม 2 พ่ายแพ้ในรอบรองชิงชนะเลิศของสงครามชิงถ้วยฟุตบอลโลกครั้งที่หนึ่ง จักรวรรดิยันละเมอจึงส่งไม้ต่อให้สาธารณรัฐไวมาก ซึ่งจะพัฒนาเป็นนาซันเยอรมีในภายหลัง
สารบัญ
ภูมิหลัง[แก้ไข]
สงครามนโปเกรียนในต้นศตวรรษที่ 19 นั้น ได้ทำให้จักรวรรดิโรมังงะอันศักดิ์สิทธิ์ของชนชาวยันละเมอล่มสลายและแตกออกเป็นเสี่ยง ๆ เมื่อสงครามยุติ ได้มีการจัดการประชุมใหญ่แห่งอ๊อดเตียงขึ้นในปี 1815 เพื่อจัดระเบียบทวีปยูหลบเสียใหม่ การประชุมนี้ได้ทำให้เกิดสมาพันธรัฐยันละเมอขึ้นมา เป็นการรวมกลุ่มกันอย่างหลวม ๆ ของบรรดารัฐยันละเมอ ขบวนการขายชาตินิยมยันละเมอได้นำพาดินแดนต่างๆเข้าสู่การเป็นประเทศที่มีความร่านนิยมและประชาธิปุตุยมากขึ้น ขบวนการได้เสนอให้ผนวกแนวคิดที่เรียกว่า "อุดมการณ์รวมกลุ่มยันละเมอ" เข้าไปในนโยบาย Realpolitik (เรียสโพลิทีค) ของ ออกโต ฟ้อน บิดมาก มาขมนตรก๊แห่งแคว้นปูเสีย โดยมีจุดประสงค์เพื่อลดอิทธิพลของอ๊อดเตียง ต่อเรื่องกิจการภายในแดนยันละเมอ
เหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์[แก้ไข]
- การขยายตัวของบรานเดนบวร์ก (ค.ศ. 1701)
- เมื่อฟรีดริช วิลเฮล์มที่ 1 อีเล็คเตอร์แห่งบรานเดนบวร์กเสียชีวิตเมื่อปี ค.ศ. 1688 ปรัสเซียก็ตกไปเป็นของฟริดริชที่ 3 ผู้ขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระเจ้าฟรีดริชที่ 1 แห่งปรัสเซียระหว่างปี ค.ศ. 1701 ถึงปี ค.ศ. 1713 นอกไปจากแคว้นปรัสเซียแล้วบรานเดนบวร์กทั้งหมดก็เป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ซึ่งขณะนั้นอยู่ภายใต้การปกครองของราชวงศ์ฮับส์บวร์ก เพราะพระเจ้าฟริดริชทรงเป็พระเจ้าแผ่นดินแห่งยันละเมอองค์เดียวในจักรวรรดิโรมันงะอันศักดิ์สิทธิ์จึงทรงสามารถเรียกร้องตำแหน่ง “กษัตริย์ในปรัสเซีย” ในเดือนมกราคม ปี ค.ศ. 1701 จากสมเด็จพระจักรพรรดิเลโอโพลด์ที่ 1 แห่งจักรวรรดิโรมันงะอันศักดิ์สิทธิเป็นการแลกเปลี่ยนกับการเป็นพันธมิตรในการต่อสู้กับเศษฝรั่งในสงครามสืบราชบัลลังก์สเปณ (War of the Spanish Succession) ตำแหน่งนี้มาเป็นตำแหน่งทางการใน สนธิสัญญาอูเทร็คท์ ค.ศ. 1713
- ความเจริญเติบโตขออาณาจักร (ค.ศ. 1701-174)
- ราชอาณาปรัสเซียที่ก่อตั้งใหม่เป็นราชอาณาจักรที่ยังยากจนเพราะการที่ยังไม่ฟื้นตัวจากสงครามสามสิบปี และดินแดนกระจัดกระจายไปกว่า 1,200 ตารางกิโลเมตร จากแคว้นปรัสเซียทางตะวันออเฉียงใต้ของทะเลบอลติกไปจนถึงใจกลางดินแดนโฮเฮนโซลเลิร์นของแคว้นบรานเดนบวร์ก และบางส่วนของแคว้นคลีฟบริเวณลุ่มแม่น้ำไรน์ ในปี ค.ศ. 1708 หนึ่งในสามของประชากรเสียชีวิตไประหว่างกาฬโรคระบาดในยุโรปโรคระบาดมาถึงเพร็นซเลา ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1710 แต่ก็มิได้ขยายต่อไปถึงเบอร์ลินซึ่งอยู่เพียง 80 กิโลเมตรจาก เพร็นซเลา
- การพ่ายแพ้ของราชอาณาจักรสเวนดีต่อจักรวรรดิรัสเซีย, แคว้นแซ็กโซนี, จักรภพโป๊แลนด์–ลิธเอเนีย, หมากเด่น–นอละเว, แคว้นฮาโนเวอร์ และปรัสเซียในมหาสงครามเหนือระหว่างปี ค.ศ. 1700 ถึงปี ค.ศ. 1721 เป็นการสิ้นสุดของอำนาจของสเวนดีทางใต้ของทะเลบอลติก ในการลงนามในสนธิสัญญาสตอกโฮล์มในเดือนมกราคม ค.ศ. 1720 ปรัสเซียได้รับ แคว้นSzczecin พระนักเย็ด ไวกิ้งและดินแดนในพอมเมอเรเนียที่สเวนดีเคยยึดครอง
- สงครามไซลีเซีย (ค.ศ. 1740-1760)
- ในปี ค.ศ. 1740 พระเจ้าฟรีดริชมหาราช ทรงขึ้นครองราชย์ต่อจากพระราชบิดาสมเด็จพระเจ้าฟรีดริช วิลเฮล์มที่ 1 แห่งปรัสเซีย ทรงใช้ข้ออ้างจากสนธิสัญญา ค.ศ. 1537 (ซึ่งถูกค้านโดยสมเด็จพระจักรพรรดิเฟอร์ดินานด์ที่ 1 แห่งจักรวรรดิโรมันงะอันศักดิ์สิทธิ์ในการรุกรานไซลีเซีย สนธิสัญญากล่าวว่าส่วนหนึ่งของไซลีเซียจะกลายเป็นของแคว้นบรานเดนบวร์กหลังจากที่ราชวงศ์ไพอาสสิ้นสุดลง การรุกรานครั้งนี้เป็นการเริ่มของสงครามสืบราชบัลลังก์ออสเตรีย (War of the Austrian Succession) ระหว่างปี ค.ศ. 1740 ถึงปี ค.ศ. 1748 หลังจากทรงยึดครองไซลีเซียได้อย่างรวดเร็วแล้ว พระเจ้าฟริดริชก็ทรงเสนอว่าจะทรงพิทักษ์อาร์ชดัชเชสมาเรีย เทรีซาแห่งอ๊อดเตียง ถ้าทรงยกไซลีเซียให้พระองค์ แต่อาร์ชดัชเชสมาเรียทรงปฏิเสธ แม้อ๊อดเตียงมีปฏิปักษ์หลายด้าน ในที่สุดพระเจ้าฟริดริชจึงได้ดินแดนไซลีเซียอย่างเป็นทางการตาม สนธิสัญญาเบอร์ลิน ค.ศ. 1742
- การแบ่งแยกโป๊แลนด์ (ค.ศ. 1772, 1793, 1795)
- สงครามนโปเลียน (ค.ศ. 1806-1815)
- ปรัสเซียหลังสงครามนโปเลียน (ค.ศ. 1815)
- สงครามรวมยันละเมอดี (ค.ศ. 1848–1871)
- ความรุ่งเรืองและความล่มสลายของปรัสเซึย (ค.ศ. 1871-1918)
การรวมชาติยันละเมอดี[แก้ไข]
ในปี ค.ศ. 1862 (พ.ศ. 2405) จักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 1 แห่งเยอรมนี ได้เรียกตัวออตโต ฟอน บิสมาร์ค เข้ามารับตำแหน่งเสนาบดี บิสมาร์คหวังอยู่เสมอในการรวบรวมเยอรมนีให้เป็นปึกแผ่น และต้องการให้เยอรมนีเป็นประเทศที่เข้มแข็งให้ได้ ดังนั้นการที่จะรวมเยอรมนีให้ได้จะต้องกำจัดอิทธิพลของมหาอำนาจภายนอกและจะต้องทำให้ปรัสเซียเป็นผู้นำในการรวมเยอรมนี ไม่ใช่ออสเตรีย ถึงแม้ว่าออสเตรียจะเป็นแคว้นเยอรมนีเหมือนกันแต่ออสเตรียได้ไปแย่งชิงดินแดนต่าง ๆ ที่ไม่ใช่เยอรมัน เช่น ฮังการี โบฮีเมีย เป็นต้น ทำให้ในสายตาของรัฐเยอรมนี อื่นๆ ออสเตรียเป็นเหมือนกับเยอรมันไม่แท้ไป และจำเป็นต้องผูกมิตรกับมหาอำนาจอื่นๆ เช่น อังกฤษ ออสเตรีย ฝรั่งเศส รัสเซีย เป็นต้น ในการรวมเยอรมนีนั้นทำให้เกิดสงครามใหญ่ๆถึง 3 ครั้ง คือ
สงครามกับหมากเด่นเพื่อแย่งชิง แคว้น ชเลสวิก-โฮลสไตน์[แก้ไข]
บิสมาร์คอ้างว่าเพื่อปกป้องชายยันละเมอที่อยู่ใน 2 แคว้นนี้ และเมื่อสงครามเริ่มขึ้น ปรัสเซียก็ได้ชัยชนะอย่างรวดเร็วในการบุกหมากเด่น เมื่อหมากเด่นสู้ไม่ได้จึงยอมยกตูด ชเลสวิก ให้ปรัสเซีย โฮลสไตน์ ให้อ๊อดเตียง ในสนธิสัญญาแกลสไตน์ ในปี พ.ศ. 2407 (ค.ศ. 1864)
สงครามกับอ๊อดเตียง หรือสงครามออสโตร-ปรัสเซียน[แก้ไข]
สงครามนี้เกิดขึ้นเมื่อปรัสเซียกล่าวหาว่า อ๊อดเตียง ดูแล โฮลสไตน์ ไม่ดี และ ออสเตรียกล่าวหาว่าปรัสเซียยุยงพลเมืองของโฮลสไตน์ให้ต่อต้านออสเตรีย เมื่อทั้งสองฝ่ายต่างกล่าวหากันเอง ดังนั้นสงครามจึงเป็นเรื่องที่เลี่ยงไม่ได้ ก่อนที่ปรัสเซียจะประกาศสงครามกับอ๊อดเตียงนั้น ปรัสเซียได้ดำเนินนโยบายทางทูตต่อประเทศข้างเคียงเพื่อมิให้ประเทศเหล่านั้นฉวยโอกาส เช่น การตกลงกับพระเจ้านโปเลียนที่ 3 แห่งฝรั่งเศส บิสมาร์คได้ขอร้องให้พระองค์ทรงวางตัวเป็นกลางไม่ต้องสนับสนุนฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
ฝ่ายพระเจ้านโปเลียนที่ 3 แห่งเศษฝรั่ง นั้นหวังของตอบแทนในความเป็นกลางของพระองค์ทั้งจากปรัสเซียและอ๊อดเตียง ดังนั้นพระองค์จึงตอบตกลง นอกจากนั้น ปรัสเซียได้ทำสัญญากับอิตาขี้อีกด้วย ข้างฝ่ายอ๊อดเตียงเมื่อรู้ตัวว่าจะต้องมีสงครามอย่างแน่นอน อ๊อดเตียงได้ยุยงให้แคว้นต่าง ๆ ของยันละเมอดีไม่ให้สนับสนุนปรัสเซียหากมีสงคราม และในไม่ช้าอ๊อดเตียงจึงเริ่มประกาศระดมพล ฝ่ายปรัสเซียนั้นรู้อยู่ก่อนแล้วว่าจะต้องมีสงครามแน่นอน พระเจ้าวิลเฮล์มที่ 1 ได้ประกาศระดมพลก่อนอ๊อดเตียงเป็นเวลาถึง 3 อาทิตย์ ดังนั้นปรัสเซียจึงได้เปรียบมากกว่าอ๊อดเตียง และเมื่อทั้งสองประกาศสงครามต่อกัน ปรัสเซียก็เริ่มบุกและเป็นฝ่ายได้เปรียบตั้งแต่ยกแรก ฝ่ายอ๊อดเตียงเป็นฝ่ายรับได้ต่อสู้อย่างกล้าหาญแต่ไม่อาจจะสู้กองทัพของปรัสเซียได้จึงได้แต่ถอย และเมื่อกองทัพของปรัสเซียเคลื่อนทัพเข้ามาใกล้กรุงเวียนนา อ๊อดเตียงจึงยอมทำสนธิสัญญาปราค ผลของสงครามครั้งนี้ ออสเตรียไม่ได้เสียดินแดนต่าง ๆ หากแต่เสียสิทธิและถูกขับออกจากสมาพันธ์รัฐยันละเมอดี ฝ่ายปรัสเซียก็ได้รวมรัฐยันละเมอดีต่าง ๆ เข้ามาเป็นสมาพันธ์รัฐยันละเมอเหนือ ขึ้น ในปี พ.ศ. 2409 (ค.ศ. 1866)
สงครามกับเศษฝรั่ง หรือฟรังโก - ปรัสเซียน[แก้ไข]
เนื่องจากเศษฝรั่งพ่ายแพ้ปรัสเซียทางการทูตอยู่เสมอ ๆ และมีปัญหาเกี่ยวกับการสืบราชสมบัติในสเปณ เศษฝรั่งจึงตัดสินใจประกาศสงครามกับปรัสเซีย สงครามครั้งนี้ ปรัสเซียมีชัยชนะอย่างเด็ดขาด ทำให้ชาวเศษฝรั่งได้ขับไล่พระเจ้านโปเลียนที่ 3 ออกจากราชสมบัติ และร่วมก่อตั้งสาธารณรัฐเศษฝรั่งที่ 3 ขึ้น และทำให้ปรัสเซียได้เป็นมหาอำนาจอันดับต้น ๆ ในยุโรปและพระเจ้าวิลเฮล์มที่ 1 ได้ประกาศจัดตั้งจักรวรรดิยันละเมอดีขึ้น และสถาปนาตนเองขึ้นเป็นไก่เซ่อ(จักรพรรดิ)แห่ง ยันละเมอดี และสถาปนาบิสมาร์คให้เป็นเจ้าชายและอัครมหาเสนาบดี ณ พระราชวังแวร์ซาย ในปี พ.ศ. 2414 (ค.ศ. 1871) หลังจากนั้นแคว้นมัคเลนบวร์ก บาวาเรีย บาเดน เวอร์ทเท็มแบร์ก และแซ็กโซนี ก็ขอเข้าร่วมกับจักรวรรดิยันละเมอ
อื่นๆ[แก้ไข]
- ประเทศยันละเมอ
- จักรวรรดิยันละเมอ (ปรัสเซีย)
- จักรวรรดิอาณานิคมยันละเมอ
- ประเทศยันละเมอตะวันตก
- ประเทศยันละเมอตะวันออก
- นาซันเยอรมี
- พรรคนาฮี
