ภาษายูริ
![]() |
ระวังจะเข้าใจถูกต้อง เนื้อหาในบทความนี้ อาจกล่าวถึง สิ่งที่ไม่ได้เกิดขึ้นจริง !
|
ภาษายูริหรือภาษายาราไรก้า(Yazíklay Yuriy, Йазиклай Ю́рий ; อ่านว่า: ย้าซีกไล ยูรึย) เป็นภาษาราชการของจักรวรรดิยูริและจักรวรรดิยาราไรก้า ซึ่งเพี้ยนมาจากภาษารัฐเสียวก่อนที่จักรวรรดิยูริจะเกิดขึ้นเสียอีก ความจริงแล้วภาษายูริเป็นอีกสำเนียงหนึ่งของภาษารัฐเสียวที่ใช้กันในเขตไซบีเรียตะวันออกก่อนที่จักรวรรดิยูริจะกำเนิดขึ้น แต่ว่าภาษายูริมีทั้งไวยาเกรียน และการอ่านออกเสียงที่แตกต่างจากภาษารัฐเสียวอย่างสิ้นเชิง จึงแทบจะเรียกไม่ได้ว่าเป็นภาษายูริเป็นส่วนหนึ่งของภาษารัฐเสียว
แต่ก่อน ภาษายูริไม่ได้รับการยอมรับให้เป็นอีกภาษาหนึ่งแต่ยังให้รวมกับภาษารัฐเสียวและเป็นภาษาถิ่นของรัฐเสียว แต่เมื่อจักรวรรดิยูริกำเนิดขึ้น ยูริ พลังจิตได้มีการสนับสนุนให้แยกภาษายูริออกจากภาษารัฐเสียวและประกาศอย่างหน้าด้านๆว่าจักรวรรดิยูริมีภาษาใช้เป็นของตนเอง แต่อย่างไรก็ตาม ภาษายูริยังมีส่วนคล้ายกับภาษารัฐเสียวอยู่มาก
ปัจจุบัน นักวิชาเกรียนต่างบอกว่าภาษายูริเป็นภาษาที่พูดแล้วเหนื่อยที่สุดในโลก เพราะว่าคำในภาษายูริส่วนใหญ่มี 3-4 พยางค์ ถ้าพูดประโยคยาวๆ นี่เมื่อยปากแน่นอน
ประวัติศาสตร์[แก้ไข]
ภาษายูริจัดอยู่ในกลุ่มภาษาสลาฟซึ่งได้รับอิทธิพลของภาษากรี๊ดภาษากรีกเป็นส่วนใหญ่ หลังจากกรี๊ดโบราณล่มสลาย ภาษากรี๊ดได้ถูกชาวสลาฟซึ่งเป็นชนเผ่าล้าหลังแห่งยูหลบตะวันออกนำไปใช้ทำให้แตกแขนงออกเป็นอีกหลายภาษา เช่น ภาษาโป๊แลนด์ ภาษารัฐเสียว ภาษายูเกรียน ฯลฯ เนื่องจากชาวสลาฟได้กระจัดกระจายไปตามที่ต่างๆ และแตกออกเป็นหลายแคว้น
จนกระทั่งศตวรรษที่ 7 ชาวไวกิ้งวาแรนเจี๊ยวซึ่งมีกำลังเหนือกว่าได้รู้สึกรำคาญที่ชาวสลาฟตีกันเอง พร้อมยังอ้างว่าตนเองเป็น "ผู้ควบคุมสันติภาพโลก" เหมือนอมาริเกย์ไม่มีผิด ชาวไวกิ้งได้เข้าโจมตีเขตการปกครองของของชาวสลาฟ ชาวสลาฟแตกพ่ายอย่างรวดเร็ว จากนั้นชาวไวกิ้งจึงรวบรวมอำนาจการปกครองของชาวสลาฟให้เป็นหนึ่งเดียวและรวบรวมแคว้นต่างๆ ของสลาฟให้เป็นหนึ่งโดยมีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงเคียฟ และตั้งชื่ออาณาจักรนี้ว่า "ขีปนาวุธ"คีวานรุส จากนั้นชาวไวกิ้งจึงรุกเข้าไปถึงไซบีเรียและมอบไซบีเรียให้แก่ข้าหลวงที่ประจบประแจง เลียแข้งเลียขากษัตริย์
จนเมื่อศตวรรษที่ 2212 มองโกลเริ่มขยายอำนาจมาจากทางตะวันหอก มองโกลได้เข้าโจมตีไซบีเรียก่อนเป็นอันดับแรก ชาวไซบีเรียจึงยอมสยบ จากนั้นมองโกลจึงบุกตะลุยไปยังคีวานรุสจนคีวานรุสแตก
เมื่อมองโกลเริ่มเสื่อมอำนาจ อาณาจักรคีวานรุสล่มสลาย โบยาร์(ขุนนางรัฐเสียว) เริ่มตีกันเองทำให้ชาวไซบีเรียอาศัยตอนที่รัฐเสียวอ่อนแออยู่ประกาศเอกราช (ชาวยูริจึงอ้างว่าประวัติศาสตร์ของจักรวรรดิยูริเริ่มต้นขึ้นตอนนี้) ไซบีเรียเริ่มแยกภาษาของตนเองออกจากภาษารัฐเสียวเกิดเป็นภาษาใหม่คือ "ภาษาไซบีเรีย"
ต่อมา เมื่อจักรวรรดิยูริถือกำเนิดขึ้น จักรวรรดิยูริได้รับภาษาไซบีเรียมาใช้เป็นภาษาราชการ และเปลี่ยนชื่อให้เป็น "ภาษายูริ" แทน
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สามซึ่งยูริกำลังครองโลก ภาษายูริได้แพร่กระจายไปทั่วโลกเนื่องจากยูริมีอาณานิเกรียนไปทั่ว ในช่วงแรกยูริได้อนุญาตให้ประชากรของประเทศที่ถูกยูริยึดครองใช้ภาษาของตนเอง แต่ช่วงหลังๆ ยูริได้เปิดโรงเรียนสอนภาษายูริไปทั่วโลก ส่งผลให้ประเทศที่ถูกยูริยึดครองเริ่มลืมภาษาของตนเอง
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สี่ ถึงแม้จักรวรรดิยูริจะล่มสลายไปแล้วแต่ภาษายูริยังอยู่โว้ย เนื่องจากกลุ่มลัทธิภราดรภาพแห่งน็อตได้ใช้ภาษายูริเป็นภาษาราชการทำให้ภาษายูริยังคงอยู่ และเนื่องจากกลุ่มลัทธิภราดรภาพแห่งน็อตมีเขตอิทธิพลในทวีปเอเชยอย่างมหาศาล ทำให้ในช่วงนั้นมีผู้พูดภาษายูริในเอเชยคิดเป็นร้อยละ 65% ตามพื้นที่ ต่อมาหลังจากที่พวกน็อตชนะกองกำลังทำลายโลก ลัทธิน็อตได้แผ่ขยายไปทั่วโลกและนำภาษายูริไปด้วย ทำให้ภาษายูริมีพูดกันอีกในทวีปอเมริกร๊วกเหนือไปจนถึงเม็กซิโก และชายแดนบราสยิว
ตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ห้า เป็นต้นไป พวกน็อตเสื่อมอำนาจและอำมาตย์เริ่มขยายอำนาจแทน พวกอำมาตย์ทั้งหลายจะใช้ภาษาจีนเป็นภาษาราชการ แต่ในขณะเดียวกันที่ยุโรป ชาวยุโรปลืมภาษาของตนเองไปและใช้ภาษายูริไปกันหมด แต่เป็นภาษายูริที่ผสมกับภาษาเศษฝรั่งและภาษายันละเมอทำให้ภาษายูริเพี้ยนไป นอกจากนี้ที่เอเชยเหนือ จักรวรรดิสลาฟได้ขยายอำนาจอย่างลับๆ และนำภาษายูริมาใช้ ภาษายูริที่สลาฟใช้เป็นภาษายูริแท้ และอเมริกร๊วกเหนือ อินูอิตก็ใช้ภาษายูริเหมือนกันแต่ใช้เป็นภาษาที่สอง
ตัวอักษร[แก้ไข]
ภาษายูริมีตัวอักษรจำนวน 29 ตัว มีพยัญชนะ 19 ตัวและสระ 10 ตัว ปัจจุบัน ภาษายูรินิยมเขียนด้วยอักษรล่าตีน (ถ้ายังงงว่าอักษรล่าตีนคืออะไร มันคืออักษรภาษาอังกฤษน่ะแหละ) และบางทีก็เขียนด้วยอักษรซีริลหลีก (คืออักษรภาษารัฐเสียว) ซึ่งมีดังนี้
อักษรล่าตีน | อักษรซีริลหลีก | ชื่อตัวอักษร | เทียบได้กับ |
---|---|---|---|
A a | A a | "A", "A" อา |
สระอา ในภาษาเทย |
Á á | Á á | "Á", "Á" อ้า |
สระอา ในภาษาเทย แต่ออกเสียงวรรณยุกต์โทด้วย |
B b | Б б | "Ибe", "Ibe" อิเบ |
บ ไบไม้ ในภาษาเทย แต่ถ้าอยู่เป็นตัวแรกของคำจะอ่านออกเสียงคล้าย ป |
V v | В в | "Ивe", "Ive" อิเว |
ว แหวน ในภาษาเทย แต่ถ้าอยู่เป็นตัวแรกจะอ่านออกเสียง V ในภาษาปะกิด (มีเสียง ฟ ปนมาด้วย) |
G g | Г г | "Игe", "Ige" อิเก |
ก ไก่ในภาษาเทย |
D d | Д д | "Идe", "Ide" อิเด |
ด เด็ก ในภาษาเทย แต่ถ้าอยู่เป็นตัวแรกของคำจะอ่านออกเสียงคล้าย ต |
E e | E e | "E", "E" เอ |
สระเอ ในภาษาเทย |
É é | É é | "É", "É" เอ้ |
สระเอ ในภาษาเทย แต่ออกเสียงวรรณยุกต์โทด้วย |
Z z | З з | "Изe", "Ize" อิเซ |
ออกเสียงในลักษณะเดียวกับ th ในภาษาปะกิด นั่นคือให้ใช้ลิ้นประกบกับฟันแล้วออกเสียง แต่ให้ออกเสียงเป็น "ซ" แทน |
I i | И и | "И", "I" อี |
สระอี ในภาษาเทย |
Í í | И́ и́ | "И́", "Í" อี้ |
สระอี ในภาษาเทย แต่ออกเสียงวรรณยุกต์โทด้วย |
Y y | Й й | "Eй", "Ey" เอย์ หรือ И Краттоьц (I Krattohs) (อี กรัตโตส์) |
ย ยักษ์ ในภาษาเทย |
K k | К к | "Икe", "Ike" อิเก |
ก ไก่ ในภาษาเทย แต่แตกต่างกับ "G" ตรงที่ k เมื่ออยู่ท้ายคำจะออกเสียง "เกอะ" ด้วย แต่ "G" จะไม่ออกเสียงดังนี้ |
Q q | К̆ к̆ | "Eк̆", "Eq" เอค |
ค ควายในภาษาเทย ออกเสียงบริเวณเพดานปาก |
L l | Л л | "Eл", "El" เอล |
ล ลิงในภาษาเทย |
M m | М м | "Eм", "Em" เอม |
ม ม้าในภาษาเทย |
N n | Н н | "Eн", "En" เอน |
น หนูในภาษาเทย |
O o | O o | "O", "O" โอ |
สระโอ ในภาษาเทย |
Ó ó | Ó ó | "Ó", "Ó" โอ้ |
สระโอ ในภาษาเทย แต่ออกเสียงวรรณยุกต์โทด้วย |
P p | П п | "Ипe", "Ipe" อิเป |
ป ปลาในภาษาเทย |
R r | Р р | "Eр", "Er" เอร์ |
ปกติเป็นเสียง ร เรือในภาษาเทย แต่ถ้าอยู่ท้ายพยางค์ เช่นคำว่า "Zar" จะออกเสียงโดยงอลิ้นให้แตะกับเพดานปาก |
T t | Т т | "Итe", "Ite" อิเต |
ต เต่าในภาษาเทย |
U u | У у | "У", "U" อู |
สระอู |
Ú ú | У́ у́ | "У́ ", "Ú" อู้ |
สระอู แต่ออกเสียงวรรณยุกต์โทด้วย |
W w (Ŭ ŭ) | У̌ | "Eу̌", "Ew" เอว หรือ У Краттоьц (U Krattohs) (อู กรัตโตส์) |
ว แหวน แตกต่างกับ "V" ตรงที่ว่า ไม่ว่า W จะอยู่ที่ไหนก็ออกเสียง ว แหวนเหมือนกัน |
F f | Ф ф | "EФ", "Ef" เอฟ |
ฟ ฟัน เมื่ออยู่ท้ายคำจะออกเสียง "เฟอะ" ด้วย |
S s | Ц | "Eц", "Es" เอส |
ส เสือ เมื่ออยู่ท้ายคำจะออกเสียง "เสอะ" |
C c | Ч ч | "Ичe", "Ice" อิเจ |
จ ใจ |
H h | ß ь | "ße", "He" เฮ |
อยู่ตัวแรกสุดของคำ ออกเสียง ฮ ฮูก หรือ H ในภาษาปะกิด อยู่นอกเหนือจากนี้ อ่านออกเสียง อ อ่าง |
ตัวที่เลิกใช้แล้ว[แก้ไข]
อักษรล่าตีน | อักษรซีริลหลีก | ชื่อตัวอักษร | คำอธิบาย |
---|---|---|---|
(Ya) | Я я | "Я", "Ya" ยา |
ตัวนี้อ่านได้เหมือนกับ "йа" อ่านว่า "ยา" ปัจจุบันยังใช้ในคำว่า "Яранайка" หรือ "Яранаjка" ยาราไนก้า |
Y y | J j | "Ej", "Ey" เอย์ |
ตัวนี้ก็คือ й นั่นแหละ และปัจจุบันยังใช้ในคำว่า "Яранаjка" เช่นกัน |
การอ่านออกเสียง[แก้ไข]
![]() |
คำที่ควรรู้[แก้ไข]
- Йаранайка(รุ่นใหม่), Яранайка, Яранаjка(รุ่นเก่า) - ยาราไนก้า (เป็นคำทักทาย(สวัสดี)กันในแถบตะวันออกไกลภาคเหนือ (บริเวณประเทศยุ่นปี่และคามชัตกา))
- Куцо-мицо Теќник(แบบไอดอลนาลีสท์, จักรวรรดิยูริ), Куця-миця Теќника(แบบสลาฟ-รัฐเสียว) - คุโซมิโซ เทคนิก (คำบอกลาบริเวณเดียวกับ "ยาราไนก้า")
- Привет(Privet)(แบบจักรวรรดิยูริ), Прийьет(Priyhet - ปรึยเยต1)(แบบสลาฟ) - คำทักทาย(สวัสดี)ของชาวยูริ หรือชาวสลาฟในแถบยูหลบตะวันหอก
- Цдразвийтийе(Sdrazviytiye) - "สดราสวืเทีย" คำทักทายกันแบบอินูอิต
- Вигород(Vigorod - วีโกรอด)(แบบยูริ), Вийгород(แบบสลาฟ) - ใช้งาน(ความหมายเดียวกับคำว่า User)
- Вигодор(Vigodor - วีโกดอร์) - ผู้ใช้ (เช่น Vigodoriy Pakornové แปลว่า ผู้ใช้:Pakorn)(ส่วนในสลาฟจะเปลี่ยนรูปไปเป็นอีกแบบหนึ่ง)
- Протревительц(Protrevitelhs - โปรเตวิเตลส์) - ผู้ใช้(แบบสลาฟ)
- Анниверзийа(Anniverziya - อันนีเวร์เซีย) - วันเกิด วันครบรอบ(เช่น Vis anniverzihi แปลว่าสุขสันต์วันเกิด)
- Ецтц(Ests - เอสส์) - ใช่
- Нон(Non - นง)(แบบยูริ), Нет(Net - เนต)(แบบสลาฟ) - ไม่ใช่
- Короц(Koros - โกโรส)(แบบยูริ), Ќоряц́о(Khoryasho - โครีอาโช)(แบบสลาฟ) - OK ตกลง
- Названий(Nazvany - นาซวานึย)(แบบยูริ), имя(Imya - อีมีอา)(แบบสลาฟ) - ชื่อ(เช่น Nazvaneniye nist Abe - ฉันชื่ออาเบะ)
- Цталний(Stalny - สตาลนึย) - หล่อ (เช่น Stalneniye kanin แปลว่า ผมหล่อ)
- Привильекят(Privilhekyat - ปรีวีลเอกีอัต) - หล่อ(แบบจักรวรรดิสลาฟ)
- Землар(Zemlar - เซมลา)(แบบยูริ), Земляр(Zemlyar - เซมลีอา)(แบบสลาฟ) - โลก, แผ่นดิน(เช่น Земла Войниьи ва IV แปลว่าสงครามโลกครั้งที่เก้า)
- Вола(Vola - โวลา)(แบบยูริ), Воля(Volya - โวลิอา)(แบบสลาฟ) - สันติภาพ (เช่น Землар и Вола แปลว่า โลกและสันติภาพ)
- Война(Voyna - วยนา(อ่านแบบยูริ), วอยนา(อ่านแบบสลาฟ)) - สงคราม