ไร้วิทยาลัย:วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร
ยินดีต้อนรับสู่ไร้วิทยาลัยภาษาไทย |
บทความนี้ เป็นส่วนหนึ่งของ ไร้วิทยาลัย, แหล่งรวบรวมเรื่องน่ารู้ เรื่องลึกลับ เรื่องไร้สาระ ของสถานศึกษาในประเทศเทย! |
วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธรเดิมคือ วิทยาลัยการสาธารณสุข
วสส.ขอนแก่นเปิดหลัง วสส.ชลบุรีเป็นสิบปี แต่สถาปนาพร้อมมหาวิทยาลัยขอนแก่น
วสส.ขอนแก่นมีรถเมล์วิ่งผ่านสายเดียวคือสาย 16
วสส.ขอนแก่นตั้งอยู่ที่บ้านโนนทัน เด็ก วพบ.ขอนแก่นจะเรียกชิ่อเล่นว่า นักเรียนบ้านโนนทัน และเด็ก วสส.ก็จะเรียกกลับว่านักเรียนบ้านเป็ด เป็นอันรู้กัน
วิทยาลัยแห่งแรก อยู่ที่จังหวัดชลบุรี เดิมเรียกว่า วิทลัยการสาธารณสุขภาคกลาง วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นวิทยาลัยน้องใหม่ อันดับที่ ๗
วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร อักษรย่อว่า วสส. และตามด้วยจังหวัดที่ตั้ง เช่น วสส.ขอนแก่น วสส.พิษณุโลก วสส.ยะลา เป็นต้น
วสส.ยะลา จะมีรถประจำวิทยาลัยคือ รถอัศวินสีทอง ซึ่งปัจจุบันก็ยังใช้งานได้อยู่
นักศึกษาจะเรียก "วิดลัย" หรือ "วสส" แทนคำว่า "วิทยาลัย"
ตั้งแต่ได้รับพระราชทานพระนาม"สิรินธร" นักศึกษาจะได้รับประทานประกาศนียบัตรการจบการศึกษาจาก พระองค์เจ้าโสมสวลี แทน สมเด็จพระเทพ
วสส.ชลบุรี มีถนนทั้งข้างหน้าข้างหลัง ข้ามยากมาก แล้วก็อันตราย
วสส.ชลบุรี มีรถแดงใช้บริการ และนักศึกษาวิทยาลัยนี้ก็ขึ้นเยอะมากในแต่ละวัน
นักศึกษา วสส ชลบุรี ชอบไปเดินตลาดนัด "ตำหนักน้ำ"
วสส.ชลบุรี มีความสัมพันธ์น้องพี่ ทั้ง พี่รหัส พี่เสี่ยง พี่เทค
วสส.ชลบุรี น้ำบนหอมักไม่ค่อยไหล นักศึกษาต้องเดินมาอาบบนตึกเรียน
วสส. ชลบุรีเป็นวิทยาลัยหนึ่งที่มี นักศึกษา ภาคอิสาน มาเรียนมาก เช่นกัน
วสส. ชลบุรี ปัจจุบันนี้ หอพักในวิทยาลัยกลายสภาพเป็นหอหญิง90% วสส.พิษณุโลก อยู่ตรงข้ามกับ "คุก"
เคยมีนักโทษหนีออกจากคุก และหลบนี้เข้ามาในวิดลัย
วสส.พิษณุโลก เคยมีนักศึกษายังกันตายภายในโรงอาหาร
วสส.สุพรรณ จะมีโค้ง เรียกว่า "โค้งพี่สาวพี่ยา" ซึ่งใครกลับจาก"เปิดท้าย"จะรู้ดี เหตุนี้ทำให้นักศึกษายอมเดินลัดป่าดงดิบของวิลัยแทน
วสส.มีทั้งหมด ๗ แห่งได้แก่ ชลบุรี(เก่ามากถึงเก่าที่สุด) ยะลา พิษณุโลก ขอนแก่น ตรัง อุบลราชธานี สุพรรณบุรี
วสส.สุพรรณบุรี เป็นวิดลัยที่เข้มเรือ่ง "อนามัยชุมชน" มากถึงมากที่สุด ไม่เชื่อไปลองท้าเด็กวิดลัยนี้แข่งได้ (ลองมากับตัวแล้ว สุดยอดมาก)
วสส.ชลบุรี ได้รับการกล่าวขวัญว่ารับน้องโหดที่สุด
วสส.สุพรรณบุรี มีตำนานเรือ่งเล่า "ตายาย" ประจำวิดลัย ทั้งโหด หลอน และ ซึ้ง
วสส.สุพรรณบุรี มีนักศึกษาเสียชีวิตขณะกำลังศึกษา
วสส.พิษณูโลก เก็บอาจารย์ใหญ่ไว้ตึก LAิB ห้องสมุดชั้นบนสุด
วสส.พิษณุโลก นักศึกษาได้รับ สมญานามว่า "แรงที่สุด"
วสส.ยะลา เด็กทางอีสาน จะได้ทุนไปเรียนที่นั่น ทำให้ในวิลัยมีแต่กลิ่นส้มตำ และว่าวลาว
วสส.ยะลา มีธรรมเนียมคือ วิ่งแก้ผ้ารอบสวนยาง เวลารับน้อง
นักศึกษา วสส.ยะลา มักจะหลบระเบิดที่ 7-11
วสส.ยะลา และ วพบ.ยะลา อยู่ในรั้วเดียวกัน เดินผ่านเดินสวนทางกันทุกวัน แต่ นศ. ทั้งสองวิทยาลัยไม่เคยทักทายกันเลย
วสส.สุพรรณจะชอบส่งนักศึกษาไปฝึกงานที่อนามัยที่น้ำท่วม กันดาร น้ำไม่ไหล ไฟไม่มี หรืออีกที เข้าไปแล้ว หารถออกมาในเมืองไม่ได้ นี่แหละคอนเซบวิดลัยเค้าเลย
นักศึกษา วสส.ยะลา จะฮิตกางเกงยีนเสื้อกาวน์
วสส.ยะลา จะมีเอกลักษณ์ประจำวิทยาลัย และไม่เหมือน วสส.ใดๆ นั่นก็คือ ระบบชื่อตั้งและตระกูล ที่มักจะเป็นชื่อแปลกๆน่าหัวเราะ แต่ นศ. กลับใช้ชื่อเหล่านี้เรียกแทนชื่อบ้าน จนบางทีเผลอลืมชื่อตัวเองไปเลย
วสส.สุพรรณ นักศึกษาหญิงที่ต้องการไว้ผมยาวจะต้องติดเนทที่ผมทุกคนและทุกครั้ง ไม้งั้นจะโดนเก็บเงิน
คลองรอบ วสส.สุพรรณ นักศึกษามักเอาไม้กระดานไปพาดไว้ เป็นทางหมาผ่าน เพื่อใช้หนีเที่ยวกลางคืน
รั้วหนามรอบ วสส.สุพรรณ มักจะถูกนักศึกษาทำลายหรือไม่ก้อแม้ค้าแถวนั้น เพื่อให้ง่ายต่อการส่งอาหารเวลาดึกๆๆ
สีประจำวิทยาลัยคือ สีม่วง-เหลือง
แต่ละวิทยาลัยจะมีต้นไม้ประจำวิทลัย และทุกๆวิทยาลัยจะมีสวนไว้ปลูกต้นไม้ของทุกวิทยาลัยในวิทยาลัยของตนเอง
เพลงประจำวิทยาลัยแต่ละวิทยาลัยจะไม่เหมือนกัน
เคยจะมีการจัดงานกีฬา ๗ วิทยาลัย แต่ไม่สำเร็จสักที
ปัจจุบัน คนที่เรียน ส.บ. ส่วนใหญ่จะจบจาก วสส.ชลบุรี (ก้อแหม่ เธอเปิดมากี่ร้อยปีแล้ว)
สาธารณสุขอำเภอ หรือบุคลระดับสูงในกรม กระทรวง ส่วนใหญ่จบจาก วสส.ชลบุรี
ท่าในตำนานของ วสส.ยะลา คือ ยกมือ... (คนในจะเข้าใจดี)
ทุกๆวิทยาลัยจะมี ปู่ย่า วิดลัย คือได้กลับบ้านปีละ ๒ ครั้ง คือ ปีใหม่ กับ สงกรานต์
ทุกๆๆวันศุกร์ นักศึกษาจะพกสมุดประจำตัวคนละเล่ม เพื่อให้อาจานย์ที่ปรึกษาและยามเซ็น ก่อนกลับบ้าน
ทุกๆวันอาทิตย์ นักศึกษาจะต้องมานสวดมนต์ พบปะพี่น้อง ก่อนกลับหอและเริ่มเรียนในวันจันทร์
วสส.สุพรรณบุรี ตั้ง ณ ศูนย์ราชการแห่งที่ ๒ ของจังหวัดสุพรรณบุรี แต่ไร้ซึ่งความเจริญ
ถนนหน้า วสส.สุพรรณ สามารถแข่งขันเตะฟุตบอลได้เลย(ใครเคยไปสุพรรณจะรู้ถนนเข้าเมืองใหญ่โตแค่ไหน)
ทุกวิทยาลัยมีกฎว่า นักศึกษาจะต้องเข้าวิทยาลัยก่อน ๖ โมงเย็น แต่ไม่เคยมีใครทำตามอย่างเคร่งครัด
วสส.ตรัง มีรถบัสเล็ก(รถฉายหนังขายยาของกระทรวงสาธารณสุข)ประจำวิทยาลัยที่ทุกคนรู้จักดี และต้องเคยใช้บริการ ชื่อว่า "น้องโบ" (ย่อมาจากโบราณ)
สิ่งที่ยึดเหนียวจิตใจ ของเด็ก วสส.ตรัง เมื่อผ่านเดินผ่านต้องยกมือไหว้ หากขับรถ ต้องบีบแตร๊ทัก คือ "ศาลพี่" ศักดิ์สิทธิ์แค่ไหนไม่รู้ แต่หลักสอบจะมีน้ำแดงมาถวายจนที่ตั้งหน้าศาลไม่พอ
เด็ก วสส.ตรัง จะมีชื่อตั้งใหม่ 1 ชื่อ เป็นชื่อเกี่ยวข้องกับ ศัพท์ทางการแพทย์ในสาขาที่ตนเองเรียน
พี่ไทแมกเวว กับ พี่เอกรัฐ ชื่อนี้ไม่ใช่คน แต่เป็น ผู้มีพระคุณ ที่เด็ก วสส. ตรัง ต้องให้ความเคารพ ตอนวิ่งออกกำลังกายช่วงรับน้อง
วสส. ตรัง เรามีหลายพี่ พี่ทุน พี่รหัส พี่สัมพันธ์ แต่พี่ที่ต้องให้ความสำคัญที่สุดต้องเป็นพี่ชื่อ (เข้าใจน่ะ)
วสส.ตรัง ด้านหน้าวิทยาลัยปัจจุบันในอดีตเป็นด้านหลังวิทยาลัย เนื่องจากมีการตัดถนนสายใหญ่ผ่าน
ทุกๆปีและทุกๆวิดลัย จะมีป้าๆๆอายุมากกว่า ๓๕ มาเรียนเสมอๆๆ วสส.อุบลราชธานี อยู่ตรงข้ามมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ตำบลเมืองศรีไค อำเภอวารินชำราญ จังหวัดอุบลราชธานี บริเวณวิทยาลัยอุดมสมบูรณ์ไปด้วยหญ้าค้า จักจั่น เห็ด มีรถบัสประจำวิทยาลัย 2 คัน คันแรกชื่ออังสุมาริน ยังใช้งานได้ดีถึงสีจะตกไปบ้าง และอีคันชื่อ กูบูริ ซึ่งไปรออังสุมารินที่ทางช้างเผือกแล้ว ตอนนี้มีตึกเรียน 10 ชั้นแล้ว วสส.อุบลราชธานียังเป็นแหล่งฝึก ผบต. ผู้บริหารระดับต้น ของผู้บริหารหลายๆหน่วยงานด้วย วสส.อุุบลราชธานี ยังมีสระน้ำหลังวิลัย เรียกว่าหนองตาสี เพราะมีคุณตาชื่อสีเสียชีวิตที่นี่