ไร้สาระนุกรม:คู่มือในการเขียน
![]() |
ข้อมูลที่ตลกขบขันและการเขียนโดยลำเอียงมีความสำคัญมากกว่ารูปแบบที่ถูกต้อง | ![]() |
คู่มือในการเขียน (Manual of Style) ในไร้สาระนุกรมเป็นแนวทางในการเขียน ให้ผู้อ่านสามารถอ่านในรูปแบบที่เข้าใจได้ง่าย พึงนึกเสมอว่า หลักการตั้งชื่อนี้เป็นแนวทางในการตั้งชื่อเพื่อให้ชื่อบทความง่ายต่อการเข้าใจ ซึ่งไม่ใช่กฎเหล็ก โดยเมื่อไร้สาระนุกรมโตได้ระดับหนึ่ง ข้อแนะนำต่างๆ ที่ไม่เป็นที่นิยม อาจจะลดหายไป ก่อนอื่นเนื่องจากไร้สาระนุกรมคือไร้สาระนุกรม ลองอ่านที่ นโยบาย และ อะไรที่ไม่ใช่ไร้สาระนุกรม เมื่อมีข้อสงสัยให้ตั้งตามบทความต่อไปนี้
ยังมีประเด็นเกี่ยวกับคู่มือการเขียน ที่ยังไม่ได้เป็นที่ตกลงกันอีกเป็นจำนวนมาก สามารถดูได้ในหน้า คุยเรื่องไร้สาระนุกรม:คู่มือในการเขียน ความคิดเห็นต่าง ๆ ในหน้าอภิปรายนั้นเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้ร่วมอภิปราย และไม่ใช่แนวทางอย่างเป็นทางการของไร้สาระนุกรม
ชื่อบทความ
- ดูบทความหลักที่ ไร้สาระนุกรม:หลักการตั้งชื่อบทความ
ชื่อบทความควรจะเป็นภาษาไทยที่เป็นคำนาม สำหรับชื่อเฉพาะ ชื่อคน ชื่อสถานที่ หรือชื่อสิ่งของ ให้ใช้ชื่อที่เป็นชื่อนิยม เพราะเชื่อว่าเป็นชื่อที่คนอื่นจะค้นหาเป็นอันดับแรก
ชื่อบทความที่ปรากฏในส่วนเนื้อหาครั้งแรกให้ทำตัวเน้น และเว้นวรรคระหว่างชื่อกับเนื้อหาหนึ่งครั้ง '''ชื่อบทความ'''
- เช่น คู่มือในการเขียน ในไร้สาระนุกรมเป็นแนวทางในการเขียนให้ผู้อ่านสามารถอ่านในรูปแบบที่เข้าใจได้ง่าย ถึงแม้ว่าชื่อบทความจะเป็นชื่อย่อของเนื้อหานั้น ให้เน้นชื่อเต็มทั้งหมด เช่นบทความ ไอแซก นิวตัน
- เช่น เซอร์ไอแซก นิวตัน (Sir Isaac Newton) นักคณิตศาสตร์ นักดาราศาสตร์ นักปรัชญา และนักเล่นแร่แปรธาตุชาวอังกฤษ
สำหรับบทความที่มีสองชื่อ ซึ่งอาจจะเป็นบทความที่แปลมาจากภาษาอื่น ให้ทำตัวเน้น ชื่อทั้งสองของบทความ
ชื่อเรียก
แนะนำให้ใช้ ตัวเอน สำหรับชื่อเรียกของ เพื่อแยกส่วนเนื้อหาบทความกับชื่อเรียกนั้น
- เช่น ในปี พ.ศ. 2534 วินนิงอีเลฟเวนได้เริ่มวางจำหน่าย โดยในปัจจุบันเป็นรุ่นที่ 9
- เกมคอมพิวเตอร์และวิดีโอเกม
- ขบวนรถไฟโดยสารที่มีชื่อเฉพาะ
- คดีในศาลยุติธรรม
- คำประพันธ์หรือร้อยกรองขนาดยาว/มหากาพย์
- งานประพันธ์ดนตรีสำหรับวงดุริยางค์
- ชิ้นงานทัศนศิลป์
- บทละคร
- ภาพยนตร์
- ภาพยนตร์ชุดทางโทรทัศน์
- ยานอวกาศ
- เรือ
- หนังสือ
- หนังสือรายคาบ (หนังสือพิมพ์ วารสาร และนิตยสาร)
- อัลบัมดนตรี
ตัวเอนจะใช้กับชื่องานขนาดยาว หากเป็นงานขนาดสั้น ควรล้อมชื่อเรียกด้วยเครื่องหมายอัญประกาศคู่ ("...") แทน งานขนาดสั้นได้แก่:-
- คำประพันธ์หรือร้อยกรองขนาดสั้น
- ตอนของภาพยนตร์ชุดทางโทรทัศน์
- บทความ ความเรียง หรือบทความวิชาการ
- บทหรือองก์ของงานขนาดยาว
- ประติมากรรม
- เพลง
- เรื่องสั้น
มีบางกรณีที่ชื่อเรียกไม่ควรใช้ทั้งตัวเอนหรืออัญประกาศ ชื่อเรียกเหล่านี้มักจะเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปอยู่แล้ว ได้แก่:-
- คัมภีร์ทางศาสนา
- รัฐธรรมนูญและกฎหมาย
- รูปเคารพทางศาสนา
วันเดือนปี
- เขียนปีในรูปแบบของ พ.ศ. โดยเว้นวรรคหนึ่งครั้งระหว่างคำย่อและตัวเลข เช่น
- พ.ศ. 2549
- สำหรับปี ค.ศ. ที่มีความสำคัญ ในทางความหมาย ให้เขียนกำกับในวงเล็บด้านหลัง หรือเขียนเฉพาะปี ค.ศ. เช่น
- พ.ศ. 2548 (ค.ศ. 2005)
- ค.ศ. 2005
- ทศวรรษ เขียนระหว่าง พุทธทศวรรษ และ คริสต์ทศวรรษ โดยไม่มีคำว่า "ที่" ตามหลัง เช่น
- คริสต์ทศวรรษ 1980
- ศตวรรษ เขียนระหว่าง พุทธศตวรรษ และ คริสต์ศตวรรษ โดยตามหลังด้วยคำว่า "ที่" เช่น
- พุทธศตวรรษที่ 25
- คริสต์ศตวรรษที่ 20
ตัวเลข
- เนื้อหาในบทความให้ใช้เลขอารบิก (0 1 2 3..9) เป็นหลัก เว้นแต่จำเป็นต้องคงรูปเลขอื่นไว้ เช่นเลขไทย เลขโรมัน
- สำหรับเอกสารต้นฉบับที่ยกมาไว้ในเครื่องหมายคำพูด และไม่มีการจัดรูปแบบหรือเขียนใหม่ สามารถคงเลขอื่นนอกจากเลขอารบิกไว้ได้ เพื่อการอ้างอิง
- เว้นวรรค หน้า และ หลัง ตัวเลขเสมอ เพื่อแยกออกจากตัวอักษร เช่น
- ราคา 500 บาท
คำทับศัพท์
ให้ใช้คำทับศัพท์ในรายการคำทับศัพท์ที่ใช้ในไร้สาระนุกรม ดูเพิ่มที่ [[ไร้สาระนุกรม:คำทับศัพท์ที่ใช้ในไร้สาระนุกรม|คำทับศัพท์ในไร้สาระนุกรม]]
ประเทศ ภาษา บุคคล
ชื่อ ภาษา และชื่อบุคคล จากต่างประเทศให้ใช้ชื่อตามชื่อประเทศ เช่น ชาวสวีเดน (ไม่ใช้ ชาวสวีดิช) ภาษาสวีเดน (ไม่ใช้ ภาษาสวีดิช) หรือ ชาวเวลส์ (ไม่ใช้ ชาวเวลช์) ยกเว้นชื่อที่มีการใช้มานาน ได้แก่ เยอรมัน กรีก ไอริช ดัตช์ สวิส อังกฤษ และ อเมริกัน
รูปแบบการจัดหน้า
- ดูบทความหลักที่ รูปแบบการจัดหน้า
การเขียนกำกับภาษาอื่น
การออกเสียงคำ
การเขียนตัวอักษรคำ ให้ใช้สัญลักษณ์ของ IPA โดยอาจจะเขียนคำไทยที่เสียงใกล้เคียงกำกับ สำหรับภาษาจีนให้ใช้ พินอิน และภาษาญี่ปุ่นให้ใช้ โรมะจิ กำกับเพิ่ม เช่น
- ภาษาฝรั่งเศส (ฝรั่งเศส: français, อังกฤษ: French, IPA: fʁɑ̃sɛ) หนึ่งในภาษากลุ่มโรมานซ์ที่สำคัญที่สุด ...
- โตเกียว ญี่ปุ่น|東京|Tōkyō เป็นเมืองหลวงของประเทศญี่ปุ่น ...
- โจวเหวินฟะ (จีน: 周潤發, พินอิน: Zhōu Rùnfā) หนึ่งในสุดยอดนักแสดงฮ่องกงที่ ได้ก้าวเข้าสู่วงการภาพยนตร์นานาชาติ ...
คำทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ
สำหรับ คำทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ ที่ต้องการแสดงที่มาของคำนั้น ให้เขียนคำภาษาต่างประเทศในวงเล็บตามหลังชื่อบทความ โดยขึ้นต้นด้วยตัวอักษรพิมพ์ใหญ่สำหรับชื่อเฉพาะและชื่อบุคคล ส่วนคำทั่วไปให้เขียนตามหลักของภาษานั้น ๆ เช่น ในภาษาอังกฤษให้ใช้ตัวอักษรพิมพ์เล็กทั้งหมด หรือ ในภาษาเยอรมันกรณีที่เป็นคำนามให้ขึ้นต้นด้วยตัวอักษรพิมพ์ใหญ่ เช่น
- สตีเฟน พอล จอบส์ (Steven Paul Jobs) ผู้บริหารระดับสูงของ แอปเปิล คอมพิวเตอร์ และ พิกซาร์แอนิเมชันสตูดิโอส์ ...
- มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ (University of California, Berkeley) เป็นมหาวิทยาลัยรัฐ ตั้งอยู่ในเมืองเบิร์กลีย์ รัฐแคลิฟอร์เนีย ...
- ไบโอดีเซล (biodiesel) เป็นเชื้อเพลิงดีเซลที่ผลิตจากแหล่งทรัพยากรหมุนเวียน เช่น น้ำมันพืช ...
สำหรับคำทั่วไปที่เป็นภาษาไทย ที่ไม่จำเป็นต้องมีคำศัพท์ภาษาอังกฤษกำกับ เช่น
- ปลา เป็นสัตว์เลือดเย็น มีกระดูกสันหลัง ส่วนใหญ่หายใจทางเหงือก ...
- ไม่ใช้ ปลา (fish) เป็นสัตว์เลือดเย็น มีกระดูกสันหลัง ส่วนใหญ่หายใจทางเหงือก ...
- ไม่ใช้ ปลา (鱼) เป็นสัตว์เลือดเย็น มีกระดูกสันหลัง ส่วนใหญ่หายใจทางเหงือก ...
เว้นวรรคระหว่างคำ ของชื่อจากภาษาต่างประเทศ
คำที่มาจากภาษาต่างประเทศ ถ้ามีการเว้นวรรคระหว่างคำ ให้เขียนติดกันเป็นคำเดียว เช่น
- Mexico City เขียน เม็กซิโกซิตี
ยกเว้นคำที่เป็นชื่อเฉพาะ โดยขึ้นอยู่กับต้นฉบับของข้อมูล สำหรับคำที่ยังไม่มีการกำหนด ตัดสินว่าถ้าแยกคำแล้วทำให้เกิดความเข้าใจผิดได้ให้เขียนติดกันเป็นคำเดียว
ชื่อผลิตภัณฑ์
ชื่อผลิตภัณฑ์ เช่น ซอฟต์แวร์ หรือ รถยนต์ ที่ประกอบด้วยชื่อผู้ผลิตและชื่อผลิตภัณฑ์ ให้เขียนเว้นวรรคระหว่างชื่อผู้ผลิตและชื่อผลิตภัณฑ์ เช่น
- Mozilla Firefox เขียน มอซิลลา ไฟร์ฟอกซ์
- Adobe Flash เขียน อะโดบี แฟลช
- Honda Accord เขียน ฮอนด้า แอคคอร์ด
- Toyota Celica เขียน โตโยต้า เซลิก้า
- Honda Civic Type R เขียน ฮอนด้า ซีวิคไทป์อาร์](เขียน "ซีวิคไทป์อาร์" ติดกัน เนื่องจาก ซีวิคเป็นรุ่นรถรุ่นหนึ่งของ ฮอนด้า)
สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีการทำตลาดในประเทศไทยและมีชื่อภาษาไทย ให้ยึดตามที่เจ้าของผลิตภัณฑ์หรือผู้แทนจำหน่ายใช้
ชื่อทีมกีฬา
ชื่อทีมกีฬาที่ประกอบด้วยชื่อเมืองและชื่อทีม ให้เขียนเว้นวรรคระหว่างชื่อเมืองและชื่อทีม เมื่อต้องการกล่าวถึงว่าทีมกีฬานั้นมาจากเมืองไหน
- ชาล็อต บ็อบแคทส์ (Charlotte Bobcats)
- แคนซัสซิตี ชีฟส์ (Kansas City Chiefs)
- กลาสโกว์ เซลติก (Glasgow Celtic) (ชื่ออย่างเป็นทางการคือ สโมสรฟุตบอลเซลติก (Celtic F.C.) เท่านั้น แต่ผู้บรรยายเกมมักใส่ชื่อเมืองเข้าไปเพื่อให้รู้ว่ามาจากไหน)
- กลาสโกว์ แรนเจอร์ส (Glasgow Rangers) (ชื่ออย่างเป็นทางการคือ สโมสรฟุตบอลแรนเจอร์ส (Rangers F.C.))
ยกเว้นทีมกีฬาที่ชื่อเมืองเป็นส่วนหนึ่งของชื่อทีมจริง ๆ ก็ให้เขียนติดกัน
- สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด (Manchester United F.C.)
- สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตี (Manchester City F.C.)
เครื่องหมาย
เครื่องหมายจุลภาค (,)
โดยทั่วไป ภาษาไทยไม่ใช้เครื่องหมาย จุลภาค (ลูกน้ำ " , ") ระหว่างคำในรายการ
- ตัวอย่างเช่น
- แม่สีหลักประกอบด้วย สีแดง สีน้ำเงิน และสีเหลือง
- ไม่ใช้ แม่สีหลักประกอบด้วย สีแดง, สีน้ำเงิน, และสีเหลือง
ข้อยกเว้น อาจใช้จุลภาคเพื่อแบ่งคำได้ เมื่อการเว้นวรรคคำเพียงอย่างเดียว อาจทำให้เกิดความสับสนในประโยค
- ตัวอย่างเช่น
- นายกรัฐมนตรีเทยได้แก่ ช้วน ลี้ภัย, ทุจศิล กินชะมัด
- ไม่ใช้ นายกรัฐมนตรีเทยได้แก่ ช้วน ลี้ภัย ทุจศิล กินชะมัด
เครื่องหมายมหัพภาค (.)
ภาษาไทยไม่ใช้เครื่องหมาย มหัพภาค (จุด " . ") ที่ท้ายประโยค เช่นเดียวกันเครื่องหมายปรัศนี หรือเครื่องหมายคำถาม (?)
เครื่องหมายไม้ยมก (ๆ)
ยังไม่มีนโยบายที่ชัดเจนเกี่ยวกับการเว้นวรรคกับไม้ยมก ว่าจะเว้นวรรคก่อนหน้าและ/หรือตามหลัง ทำให้ในขณะนี้ ไม่ว่า "สรุปเร็วๆนะ" "สรุปเร็วๆ นะ" หรือ "สรุปเร็ว ๆ นะ" ก็ใช้ได้เหมือนกัน - ควรหลีกเลี่ยงการแก้ไขการเว้นวรรคเหล่านี้โดยเฉพาะเจาะจง