ประชาธิปไตย
![]() |
ห้าร้อยบาท! | ![]() |
ทุจศีลกล่าวถึงประชาธิปไตย [1] |
จงอย่าถามว่ารัฐให้อะไรคุณ แต่จงถามว่าคุณจะให้อะไรแก่รัฐ
— เจ เอฟ เค กล่าวถึง ประชาธิปไตยแล้วก็รีบๆ ไปสมัครไป
ตายรบในสงครามเวียดนามซ่ะ
— ท่านผู้นั้น คิดในใจประชาธิปไตยคือสิ่งสวยงามทางภาคทฤษฎีแต่เป็นได้แค่เหตุผลวิบัติเมื่อเอามาใช้จริง[2]
— เบนิโต มุสโสลินี กล่าวถึงประชาธิปไตย
ประชาธิปไตย(ปะกิด:Democrazy) คือระบบการปกครองว่าด้วยการเคารพความเห็นของคนส่วนใหญ่ และประชาชนมีสิทธิ์ปกครองตนเอง ซึ่งทั้งโลกนี้กำลังใช้อยู่ อาจเรียกได้ว่าประชาธิปไตยคือการใช้กฎหมู่ ซึ่งหากกล่าวขยายความออกไปแล้ว จะมีจำนวนไม่น้อยที่รับไม่ได้ รวมถึงบางคนในที่นี้ด้วย
คำย่อ[แก้ไข]
ที่มาของคำ[แก้ไข]
ความเชื่อที่ 1[แก้ไข]
ประชาธิปไตย(ปะกิด:Democrazy) คือแนวคิดที่ไม่มีวันสำเร็จลุล่วงเป็นเวอร์ชั่นเต็มไปได้ สังเกตที่ชื่อจะเป็น Demo อยู่ตลอด ประชาธิปไตยเป็นแนวคิดที่เชื่อว่าประชาชนไม่มีสิทธิที่จะปกครองตนเอง ซึ่งเหมือนกันกับแนวคิดอื่น ๆ ก่อนหน้านั้น ที่เชื่อว่าประชาชนมีชีวิตอยู่เพื่อเสริมสร้างบารมีหรือความมั่งคั่งให้กับผู้ใหญ่บ้าน หรือมีชีวิตตามความต้องการของพี่เบิร์ด[3] การเปลี่ยนกระบวนทัศน์นี้เป็นผลมาจากการแหกคุกมืด
ความเชื่อที่ 2[แก้ไข]
Democracy เดิมเขียนว่า Democrazy มาจากการรวมกันของคำว่า Demo + Crazy
ดังนั้น Democrazy จึงแปลว่าการรวมตัวกันประท้วงแบบบ้าๆ
แต่เนื่องจากพวกแว้นและสก๊อยของอังเกรียนทำภาษาวิบัติต่อเนื่องกันมา มันจึงเพี้ยนกลายเป็นคำว่า Democracy อย่างทุกวันนี้
ระบอบนี้เป็นของใคร โดยใคร เพื่อใคร[แก้ไข]
ประชาธิปไตยเป็นของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน
— อับราฮำ ลิงคอน
ครูสังคมมักย้ำนักย้ำหนากับเราอยู่อย่างนี้เสมอ ในขณะที่คำนี้
- นักการเมียไม่สนใจ
- โจรโพกผ้าเหลืองและโจรโพกผ้าแดงใช้อ้าง (เพื่อวัตถุประสงค์บางประการที่อยู่เบื้องหลังของทั้งสองฝ่าย)
- ประชาชนก็ไม่ได้ใช้
คำถามมีอยู่ว่า ประเทศเทยดำเนินตามระบบนี้มาอย่างถูกต้องแล้วหรือ ?
ตีความตามคำ[แก้ไข]
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ ประชา คือ น. หมู่คน เช่น ปวงประชา. (ส.; ป. ปชา).
อธิปไตย คือ [อะทิปะไต, อะทิบปะไต] น. อำนาจสูงสุดของรัฐที่จะใช้บังคับ บัญชาภายในอาณาเขตของตน. (ป. อธิปเตยฺย ว่า ความเป็น ใหญ่ยิ่ง). (อ. sovereignty).
ประชาธิปไตย คือ [ปฺระชาทิปะไต, ปฺระชาทิบปะไต] น. ระบอบการปกครองที่ถือ มติปวงชนเป็นใหญ่, การถือเสียงข้างมากเป็นใหญ่. (ส. ปฺรชา + ป. อธิปเตยฺย).
ปัจจุบันเราต้องมาสนใจคนส่วนน้อยซึ่งกำลังประท้วงโดยไร้หลักฐาน นี่คือกลุ่มแรก และประท้วงไล่พวกกลุ่มแรกโดยกลุ่มที่สองซึ่งทั้งสองพวกพยายามตีกันโดยไม่สนส่วนรวมและคนส่วนใหญ่
ความยากของประชาธิปไตย[แก้ไข]
ตามความหมายของคำแล้ว ประชาธิปไตย หมายถึง การปกครองโดยการถือเอาเสียงข้างมาก อย่างไรก็ตาม การที่ไม่สนใจเสียงข้างน้อย ย่อมถือว่าเป็นประชาธิปไตยที่ไม่สมบูรณ์ ซึ่งเรียกว่าเป็น "เผด็จการเสียงข้างมาก"
ดังนั้น ประชาธิปไตยจึงเป็นการยากลำบากที่จะต้องตอบสนองต่อความต้องการของคนทุกฝ่าย ดังนั้น ประชาธิปไตยจึงไม่เหมาะสำหรับประเทศที่มีความคิดเห็นแตกต่างกันมาก เนื่องจากอาจจะเกิดอาการโวยวาย หรือติ่งหู และนำไปสู่การปกครองรูปแบบอื่น ได้แก่ ประท้วงธิปไตย หรือ อนาถาธิปไตย เป็นต้น
อีกแง่มุมหนึ่งของประชาธิปไตย[แก้ไข]
แนวคิดมาร์คซี๊ดได้เสนอความคิดที่ว่า
"ในการปกครองที่ผู้ใช้แรงงานถูกกดขี่จากนายทุนนั้น ชนชั้นผู้ใช้แรงงานควรจะรวมตัวกันเพื่อทำการปฏิวัติต่อระบอบนายทุน แล้วใช้การปกครองแบบเผด็จการ เพื่อตัดส่วนที่เชื่อมโยงกับลัทธิทุนนิยมและการกดขี่จากชนชั้นนายทุนออกไปทั้งหมด และทำให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น จากนั้น เมื่อสังคมประสบความสำเร็จในการปกครองแบบเผด็จการ ประชาชนที่มีความรับผิดชอบเพียงพอก็ไม่จำเป็นต้องอยู่ภายใต้การปกครองแบบเผด็จการอีกต่อไป โดยรัฐบาลมีหน้าที่เพียงเพื่อคอยดูแลประชาชนเท่านั้น"
มาร์กซ์ เรียกแนวความคิดดังกล่าว เรียกว่า "ประชาธิปไตยแบบสมบูรณ์" (Democratic Utopia)
ความจริงแสนสลด[แก้ไข]
ยังมีคำกล่าวอีกหนึ่งคำซึ่งก็คือความจริงแต่คนส่วนใหญ่เห็นว่าไม่ถูก มันก็ไม่ถูกต้อง คำกล่าวนี้คือ จะไป...ทำไม ถ้านอนอยู่บ้านจะตายมั้ย
ผมว่าเขาก็พูดถูกนะแต่มันออกจะรุนแรงไปหน่อย
— Zhezasuck
ประชาธิปไตยกล่าวถึงความเห็นของคนส่วนใหญ่ แต่ในขณะเดียวกันก็มีคนจำนวนไม่น้อยรวมตัวแบ่งสองพวก สร้างความรำคาญแก่คนส่วนใหญ่และกล่าวว่า "ความเห็นของคนส่วนใหญ่ไม่ได้ถูกต้องเสมอไป" ซึ่งมันก็จริงอยู่บ้าง แต่ก็เป็นที่น่าเบื่อหน่ายและสร้างความรำคาญ พวกที่ถือตนเองเป็นใหญ่และไม่สนใจใครโดยตนอ้างว่าอยู่ในระบอบประชาธิปไตยนั้น ผมขอเรียกเพศชายว่าเกรียนเพศหญิงเรียกว่าติ่งหู ในขณะเดียวกันก็ทำร้ายประเทศจนเกือบจะโดนทำลาย และวันนี้หัวใจชาวเทยกำลังจะสลาย
ความจริงที่สลดยิ่งกว่า[แก้ไข]
เพราะบทความนี้ ต้องมีคนมาด่าไร้สาระนุกรมแหงๆเลย
— ไอ้ขี้เมา
ถ้าอย่างนั้น ไม่เสื้อเหลืองก็เสื้อแดงต้องเป็นคนด่าครับ
— ไอ้ปาก่อน
น่าอนาถประเทศอังเกรียน ต้นแบบประชาธิปไตยของโลก มี ส.ว. มาจากการสรรหาจำนวน 100%
— นักเลือกตั่งคนนึง กำลังโวยวาย
ประชาธิปไตย ไม่ใช่ระบอบ(การปกครอง)ที่ดีที่สุด แต่ชั่วน้อยที่สุด
— วินส้นตีน โบสถ์เย็น
เพื่อความชอบธรรม (ของกู) กกต. ควรมาจากการเลือกตั่ง
— นักเลือกตั่งคนเดิม โวยวายต่อ
พูดแบบนี้ สงสัยคงต้องมาเลือกตั่งแข่งกันอีกสักยก
— ทุจศิล กล่าวในระหว่างโฟนอิน
[เพื่อพ่อแม่พี่น้องจะได้] ไม่ต้องไปเข้าแถวรอรับ 500 บาท ... [นี่คือ] ประชาธิปไตยที่กินได้[???]
— ทุจศิล กล่าวในระหว่างโฟนอิน[1]
ประชาธิปไตยคือเผด็จการซ่อนรูป
— Outsiderสรุปเป็นสัจธรรม
โลกนี้หามีประชาธิปไตยเสรีนิยมอย่างแท้จริงไม่
— Xeno ปลงอนิจจํ
ด้วยอำนาจแห่งประชาธิปไตย เนื้อหาทางวิชาการที่ถูกต้องก็สามารถโหวตเลือกกันได้ สุดยอดจริงจริง วิกิพีเดีย-สารานุกรมตามใจฉัน
— ไอ้ขี้เมา กล่าวถึง หน้าพูดคุยหน้าหนึ่งในวิเกรียนฯ
หากใครที่คิดว่าตนเองสามารถบริหารสมาคมฟุตบอลได้เก่งกว่าผม ถ้าแน่จริงมาเลือกตั่งประธานสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศเทยแข่งกับผมได้เลย
— บังยี้ ประธานสมาคมฟุตบอลเทยคนปัจจุบัน กล่าวถึง แฟนบอลทีมชาติเทย
ศาลเทยควรใช้ระบบลูกขุน เพื่อความยุติธรรมแบบประชาธิปไตย
— เศษแดงเคยกล่าวไว้เมื่อนานมาแล้ว
"ส่วนตัวผมว่าคนไทยไม่ค่อยเหมาะกับประชาธิปไตยหรอก คนไทยจะเหมาะกับระบบเผด็จการที่คอยฟังคำสั่งผู้นำมากกว่า เพราะคนไทยส่วนใหญ่มีนิสัยเสียอยู่คือขี้เกียจ ถ้าไม่สั่งก็ไม่ทำ ต้องให้สั่งรึจวนตัวจริงๆถึงจะลุกมาทำ ระบบที่เหมาะที่สุดคือคอยรับฟังคำสั่งจากผู้นำ ซึ่งประเทศที่ด้อยพัฒนาส่วนใหญ่ก็จะมีลักษณะคนแบบนี้ ประเทศที่มีคนลักษณะนี้หากได้ผู้นำที่ดีก็พุ่งไปได้ไกล แต่หากได้ผู้นำห่วยๆก็พังพาบไม่ได้ไปไหนหรอก
ประชาธิปไตยนั้นมันก็ระบบกลางๆ ไม่ได้ดีหรือเลวอะไร จุดสำคัญอยู่ที่คนนั่นแหละ ถ้าคนมีคุณภาพประชาธิปไตยก็จะเป็นระบบที่พาให้ประเทศชาติเจริญไปได้ แต่หากคนไม่มีคุณภาพ ประชาธิปไตยมันก็แค่ระบบพวกมากลากไป เป็นระบบที่ปิดปากเสียงข้างน้อย สร้างความแตกแยกระหว่างกัน"
— Zodiac28
อ้างอิง[แก้ไข]
- ^ 1.0 1.1 คลิปทุจศีลหลุด ต่อคิวรับ 500 บาท ดูได้ที่ยูธูป
- ^ http://www.brainyquote.com/quotes/keywords/fallacy.html
- ^ ประชาธิปไตย จากวิเกรียนพีเดีย (ก่อนถูกลบ)
- ^ Cambridge Advanced Learner's Dictionary