ไร้สาระนุกรม:แนวทางในการเขียนบทความให้ดียิ่งขึ้น
หน้านี้เป็นแนวทางในการเขียนบทความให้ดียิ่งขึ้น หน้านี้ไม่ใช่กฎตายตัวที่ต้องปฏิบัติตาม แต่เพื่อให้เนื้อหาและรูปแบบมีแนวทางสอดคล้องกัน
บทความที่สมบูรณ์
บทความที่สมบูรณ์ ในลักษณะสารานุกรมของไร้สาระนุกรม เป็นบทความที่สอดคล้องกับนโยบายของไร้สาระนุกรม และบทความต้องประกอบไปด้วย
- ชื่อที่มีการทำตัวหนา (โดยใส่ เครื่องหมาย ' 3 ครั้ง หน้าหลังชื่อบทความเช่น '''ตัวอย่าง''') แสดงให้เห็นถึงชื่อบทความนั้น
- ต้องมี ลิงก์ อย่างน้อย 1 ลิงก์ จะเป็นลิงก์ภายในไร้สาระนุกรมเอง หรือลิงค์ไปแหล่งข้อมูลอื่น (External Link) ก็ได้
- มีการจัดหมวดหมู่ อย่างเหมาะสม
- รูปแบบการเขียนในบทความเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
การเริ่มต้น
การเริ่มต้นที่ดี กับ การเริ่มต้นที่ไม่ดี สำหรับการเริ่มต้นบทความ บทความใหม่อาจจะเป็นบทความสั้น ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของการเขียนบทความ โดยข้อความอย่างน้อย ควรอธิบายความหมายและความสำคัญ
ตัวอย่าง การเริ่มต้นบทความที่ดี
- ประเทศเทยตั้งอยู่บนแหลมเทย ประชากรส่วนใหญ่เป็นเผ่าคนแคระ มีลักษณะทั่วไปคล้ายประเทศไทยซึ่งอยู่อีกมิติหนึ่งมาก จนขนาดคนเทยแท้ๆ บางคนยังหลงนึกว่าตนเองอยู่ในประเทศไทยเลยทีเดียว
- คำว่าท่านผู้นั้นมักเจอได้บ่อยๆในการ์ตูน ซึ่งมีความหมายอันคลุมเครือเป็นอย่างมาก บางที ท่านผู้นั้น อาจจะเป็นผู้หญิง ผู้ชาย หมา แมว สัตว์ สิ่งของ หรืออื่นๆก็เป็นไปได้ทั้งนั้น
- ท่านผู้นั้น หากจะตีความจากผู้ที่พูดนั้น ก็แปลได้ว่า ท่านผู้นั้นที่กล่าวถึงมีความยิ่งใหญ่ เกรียงไกร และเก่งกาจเป็นอย่างมาก ผู้ที่พูดนั้นมักจะเป็นขี้ข้า หรือลูกกระจ๊อกของท่านผู้นั้นอยู่เสมอ หากเปรียบกับในเกมส์ ท่านผู้นั้นก็เปรียบได้กับบอสใหญ่ในเกมส์แล้ว
จะเห็นได้ว่า การเริ่มต้นบทความ ประเทศไทย แม้จะมีรายละเอียดเพียงแค่ส่วนภูมิศาสตร์ แต่ยังมีเนื้อหาพอที่จะให้คนอื่นมาขยายความต่อได้ ขณะเดียวกัน บทความ ไมเคิล ชารา แม้ว่า จะมีการใช้ภาษาอังกฤษมาปน (อาจเนื่องจากผู้เขียนไม่รู้วิธีการสะกดที่ถูกต้อง) ก็ยังนับว่าเป็นการเริ่มต้นที่ดี และหากต้องการทับศัพท์นั้น อย่าลืมแวะเยี่ยมคำทับศัพท์ที่ใช้ในไร้สาระนุกรมสำหรับรายชื่คคำทับศัพท์ที่ใช้ในไร้สาระนุกรม หรือคุณสามารถเสนอคำใหม่ให้พิจารณาได้หากไม่อยู่ในรายชื่อ
ตัวอย่าง การเริ่มต้นบทความที่ไม่ดี เมื่อเปรียบเทียบกัน เช่น
- ประเทศเทยตั้งอยู่บนแหลมเทย
- คำว่าท่านผู้นั้น มีความหมายอันคลุมเครือเป็นอย่างมาก
- อาโออิ หรือที่รู้จักกันว่า น้องอ้อย เป็นนักแสดงหนังอย่างว่า
การจัดหน้า
แบ่งแยกเป็น 3 ส่วนหลัก ส่วนบทนำ ส่วนเนื้อหา และส่วนโปรแกรม โดย
- ส่วนบทนำ เป็นส่วนที่สำคัญที่สุดของบทความ ปรากฏในย่อหน้าแรก (หรือมากกว่านั้น) ของบทความ เนื้อหาเกี่ยวกับข้อความสรุปของบทความนั้นๆ โดยเขียนเริ่มต้น เพื่อให้ผู้อ่านรู้ภาพรวมว่า บทความที่อ่านอยู่ คือบทความเกี่ยวกับอะไร โดยไม่จำเป็นต้องมีเนื้อหาย่อยลงไปใน หรือมีศัพท์เฉพาะ เช่น
- บทความชีวประวัติ ว่าบุคคลนั้น คือใครและมีและผลงานอะไรที่เป็นที่รู้จัก โดยเนื้อความอื่นๆ เช่น ชีวิตครอบครัว หน้าที่การงาน รางวัล หรือผลงานอื่นๆ ควรจะนำไปใส่ในส่วนเนื้อหาตามเหมาะสม
- บทความสถานที่ หรือ เมือง เขียนเกี่ยวกับ ภาพรวมของสถานที่นั้น โดยบอกความสำคัญของสถานที่
- บทความส่วนนี้ไม่ควรเขียนคำศัพท์เฉพาะ เพื่อให้คนที่ไม่ได้มีความสนใจในเรื่องนั้นเป็นพิเศษ สามารถอ่านเข้าใจได้
- ส่วนเนื้อหาเขียนอธิบายบทความโดยแบ่งแยกหัวข้อตามความเหมาะสม
- แบ่งเนื้อหา ออกเป็นหัวข้อย่อย โดยแต่ละหัวข้อจะแสดงผลในส่วนของสารบัญของเนื้อหานั้น หัวข้อควรจะเป็นคำที่กระชับ ชัดเจน ไม่เย้นเย้อ และขณะเดียวกันก็ไม่ควรสั้นจนเกินไป
- ตัวอย่างชื่อหัวข้อย่อย ของส่วนเนื้อหา เช่น ในบทความประเทศไทย สามารถแบ่งเป็น "ประวัติศาสตร์" "ภูมิประเทศและภูมิอากาศ" "การศึกษา" "สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ"
- ส่วนหมวดหมู่ และลิงก์ข้ามภาษา ส่วนนี้เป็นส่วนสำคัญอีกส่วนหนึ่ง เพื่อให้แต่ละบทความสามารถจัดเก็บและเชื่อมโยงกันได้ ท้ายสุดของบทความ ต้องจัดหมวดหมู่และลิงก์ข้ามภาษา โดยหมวดหมู่จะเป็นการเชื่อมโยงแต่ละบทความในไร้สาระนุกรมภาษาไทย ส่วนลิงก์ข้ามภาษาเป็นการเชื่อมโยงระหว่างบทความเดียวกันในภาษาอื่นๆ
ส่วนท้ายของเนื้อหา
ในส่วนท้ายของเนื้อหา จะเป็นการเขียนหรือเชื่อมโยงไปยังที่มา หรือบทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่
คำวิพากษ์วิจารณ์
เป็นช่วงที่สามารถให้ผู้เขียนบทความหรือผู้เยี่ยมชมเข้ามาให้ความคิดเห้นส่วนตัวนบทความนี้ได้
คำสัมภาษณ์
ถ้ามีบทสนทนาซึ่งเกี่ยวข้องกับบทความนี้ สามารถใส่ยังช่วงนี้ได้
ดูเพิ่ม
ถ้ามีการแนะนำให้ผู้อ่าน อ่านบทความอื่นในไร้สาระนุกรม ที่เกี่ยวข้องกับบทความนั้นๆ ให้ใส่ไว้ในหัวข้อย่อย "ดูเพิ่ม" เขียนโดยใช้คำสั่ง == ดูเพิ่ม ==
บทความที่เกี่ยวข้อง
ถ้ามีบทความอื่นที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับบทความนี้ สามารถใส่ได้ที่นี่
เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง
ถ้ามีลิงก์ไปยังเว็บไซต์ด้านนอกแสามารถใส่ได้ที่นี่
* [http://www.aaa.com/ รายละเอียดเกี่ยวกับ...] * [http://www.bbb.com/ บทสัมภาษณ์เกี่ยวกับ...] * [http://www.ccc.com/ รวมผลงานเกี่ยวกับ...]
ลิงก์ข้ามภาษา
ถ้ามีบทความเดียวกันในไร้สาระนุกรมภาษาอื่น ให้ใส่ลิงก์ข้ามภาษาไว้ที่ส่วนล่างสุดของบทความ ด้านล่างนี้คือตัวอย่างลิงก์ข้ามภาษาที่นำมาจากบทความประเทศไทย 6 อันดับแรก:
[[af:Thailand]] [[an:Tailandia]] [[ar:تايلند]] [[ast:Tailandia]] [[az:Tayland]] [[bg:Тайланд]]
รูปแบบพื้นฐานในไร้สาระนุกรมไทย
ส่วนบทนำของบทความในลักษณะสรุปบทความ == รายละเอียด1 == == รายละเอียด 2 == == อ้างอิง == == ดูเพิ่ม == === แหล่งข้อมูลอื่น === [[หมวดหมู่:___]]